“จอ LED” (จอแอลอีดี) แตกต่างจากจอประเภทอื่นอย่างไร ?

“จอ LED” (จอแอลอีดี) แตกต่างจากจอประเภทอื่นอย่างไร ?

ปัจจุบันในท้องตลาดบ้านเรามีทีวีหลากหลายแบบ หลากหลายฟีเจอร์ และหลากหลายคุณภาพ ให้เราได้เลือกดูกันตามระดับราคาที่สามารถจับต้องได้และถูกใจเรา อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะข้องใจว่า แล้วเทคโนโลยีแสดงผลของแต่ละแบบมันต่างกันอย่างไร ซึ่งบทความนี้เราจะพามาดูความแตกต่างของ “จอ LED” , จอ LCD, จอ DLP, จอ OLED และจอ QLED กันครับ

“จอ LED” (จอแอลอีดี)

“จอ LED” หรือที่ย่อมาจากคำว่า "Light Emitting Diode" ใช้ระบบการฉายภาพด้วยหลอดไฟขนาดเล็ก โดยหลอด LED จะทำหน้าที่เป็นตัวเกิดแสง และผลึกคริสตัลที่เป็นของแข็งกึ่งของเหลว 3 สี คือสีแดง น้ำเงิน และเขียว บิดตัวเป็นองศาเพื่อให้แสงไฟจาก LED ส่องผ่าน ฉายออกไปเป็นภาพสีสันสวยงามบนหน้าจอ นอกจากนี้ “จอ LED” จะมีความสว่างและความชัดที่ดีกว่าหน้าจออื่น ๆ เช่น หน้าจอ LCD และมีความสามารถในการแสดงสีที่กว้างและเป็นธรรมชาติ สามารถแสดงสีดำที่แท้จริงและสีสันที่สมจริงขึ้นได้

นอกจากนี้ อีกหนึ่งจุดเด่นของ “จอ LED (จอแอลอีดี)” คือสามารถต่อขยายขนาดได้อย่างไม่จำกัด จึงเหมาะกับงานที่ต้องการใช้จอภาพขนาดใหญ่กว่าจอภาพแบบ LCD (แอลซีดี) ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นจอภาพขนาดใหญ่ในหอประชุม ห้องจัดเลี้ยงสัมมนา ห้องบอลรูม ห้องประชุมบอร์ด ล็อบบี้ และเพิ่มลูกเล่นด้วยการสามารถดีไซน์รูปร่างได้ตามต้องการ ไม่จำกัดอยู่แค่รูปร่างสี่เหลี่ยมเหมือนจอทีวีทั่วไป สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบ สถาปัตยกรรม และการตกแต่งภายใน

เทคโนโลยีของ “จอ LED (จอแอลอีดี)” ได้รับการออกแบบให้มีหลากหลายความละเอียด (Pixel Pitch หรือเรียกสั้นๆว่า P) เพื่อตอบสนองการใช้งานหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับขนาดห้องและระยะห่างในการชมภาพจาก “จอ LED (จอแอลอีดี)” และยังมีความคงทนกว่าจอรูปแบบเดิม จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุนและใช้งานได้ในระยะยาว รวมไปถึง “จอ LED (จอแอลอีดี)” แบบใช้งานภายนอกอาคาร (Outdoor) ซึ่งได้รับการออกแบบพิเศษให้สามารถทนแดด ทนน้ำ ทนลม มีความทนทาน

จอ LCD (จอแอลซีดี)

จอ LCD หรือย่อมาจากคำว่า "Liquid Crystal Display" หน้าจอแสดงผลแบบดิจิทัลที่ใช้วัสดุผนึกเหลวโปร่งแสง (Liquid-Crystal) ที่มีคุณสมบัติพิเศษเคลื่อนตัวหรือเรียงตัวใหม่ได้เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก โดยผนึกเหลวจะถูกเคลือบอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าและผนึกสี 3 สี (แดง-เขียว-ฟ้า) จนสามารถสร้างภาพให้มีลักษณะออกมาเป็นพิกเซลได้ และภาพที่ได้จากจอ LCD ก็จะมีความดูว่างและคมชัดอย่างมาก ที่สำคัญหน้าจอ LCD มีความบางและเบาเมื่อเทียบกับหน้าจออื่น เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ต้องการพกพาหรือติดตั้งบนผนัง แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ขนาดของ panel หรือ display ที่มีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 100 นิ้ว เมื่อต้องการต่อจอขนาดใหญ่กว่า 100 นิ้ว จะเป็นการนำจอ LCD ขอบบางหลายๆจอมาต่อเชื่อมกันเป็นระบบ LCD Video Wall (วิดีโอวอลล์) และควบคุมด้วยชุดคอนโทรล อย่างไรก็ตามการนำจอ LCD มาต่อกัน ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ที่เรื่องขอรอยต่อระหว่างขอบจอ ซึ่งอาจบดบังความสวยงามของรูปภาพ วิดีโอ หรือตัวอักษรของเนื้อหาที่แสดงบนจอ

จอ DLP (จอดีแอลพี)

จอ DLP หรือย่อมาจากคำว่า "Digital Light Processing" เป็นหน้าจอที่ไม่ได้มีอยู่เพียงแค่ในเครื่องฉายภาพเท่านั้น แต่ยังถูกใช้ใน TV ด้วยเช่นกัน เพียงแต่ปัจจุบันได้เลิกผลิตไปแล้ว หลักการทำงานของ TV DLP มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ชิปแบบ Digital Micromirror Device (DMD) ซึ่งบรรจุไปด้วยกระจกขนาดเล็ก 1.3 ล้านชิ้นเรียงกันเป็นพิกเซลและมีลักษณะเป็นบานพับได้ หลังจากแสงส่องผ่านฟิลเตอร์สี ก็จะวิ่งเข้าสู่ตัวชิป และ สะท้อนออกมาเป็นภาพต่าง ๆ

จอ OLED (จอโอแอลอีดี)

หน้าจอ OLED หรือที่ย่อมาจากคำว่า "Organic Light-Emitting Diode" จะใช้ฟิล์มคาร์บอน (Carbon Film) ที่สามารถเรืองแสงได้เมื่อเจอกับความร้อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แสงไฟส่องจากด้านหลัง นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมเม็ดพิกเซลที่ให้แสงได้อย่างอิสระ ทำให้ได้ภาพและแสงสีที่คมชัด หน้าจอ OLED นิยมนำไปใช้เป็น หน้าจอทีวี หรือที่เราเรียกว่า ทีวี OLED สามารถแสดงสีดำได้ลึกกว่าและมีอัตราส่วนคอนทราสต์ที่มากกว่าในสภาพที่มีแสงรบกวน ข้อจำกัดของจอ OLED คือขนาดจอที่ยังมีขนาดไม่ใหญ่มากและมีราคาสูง จึงเหมาะกับการใช้งานรับชมความบันเทิงภายในบ้านพักอาศัยมากกว่างานตกแต่งหรืองานห้องประชุม

จอ QLED (จอคิวแอลอีดี)

หน้าจอ QLED หรือที่ย่อมาจากคำว่า "Quantum Light-Emitting Diode" เป็น Next Generation ของ LCD และมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนกว่า OLED มาก หัวใจสำคัญคือเทคนิคการใช้จุดควอนตัม (Quantum Dots) ซึ่งเป็นนาโนคริสตัลเทียมสี ๆ วางตัวเป็นชั้นเรียกว่า QDEF (Quantum Dot Enhancement Film) เมื่อแสงสะท้อนมาจากด้านหลังและทะลุผ่านจุดควอนตัม อนุภาคแสงที่ปล่อยออกมาจะสว่างมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสีกับช่วยลดความเสี่ยงของอาการจอไหม้ได้ด้วย แต่เมื่อเทียบกับ OLED แล้วอัตราส่วนคอนทราสต์ยังด้อยกว่าครับ

สรุปได้ว่า แต่ละเทคโนโลยีจอมีคุณลักษณะและความสามารถที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน หากคุณกำลังมองหาจอขนาดใหญ่ตั้งแต่ 100 นิ้วขึ้นไป “จอ LED (จอแอลอีดี)” จะตอบโจทย์มากที่สุดครับทั้งในเรื่องของขนาด การออกแบบ งบประมาณ และการบำรุงรักษา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้